ถนนเลียบทางรถไฟ เส้นทางหลักประชาชนในชั่วโมงเร่งด่วน ผ่านมานานหลายปีปัญหารถยังไม่ได้รับการแก้ไข ด้วยปริมาณรถจำนวนมาก อดีตเมืองพัทยาทำสัญญาณไฟจราจรแต่สุดท้ายไปไม่รอดพบไม่สัมพันธ์กับแยกและจำนวนรถ ขณะที่ผ่านมาขุดเจาะทำระบบระบายน้ำแต่ไม่แก้ผิวจราจรทำประชาชนเดือดร้อนหนัก วอนเมืองพัทยาเร่งแก้ไข
จากกรณีที่เมืองพัทยามีประชาชนที่พักอาศัยและหลั่งไหลมาทำงานเป็นจำนวนมากเฉลี่ยเกินกว่า 5 แสนคน ขณะที่รายชื่อในทะเบียนราษฎรณ์มีเพียง 1-2 แสนคนเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะมีที่พักอาศัยอยู่ในฝั่งตะวันออกของเมืองพัทยา อย่างในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ เทศบางโป่ง เทศบาลตำบลห้วยใหญ่ และหนองปลาไหล ขณะที่เส้นทางการเดินรถของเมืองพัทยาเองก็มีจำกัด เนื่องจากไม่ได้วางระบบผังเมืองเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมไว้อย่างมีประสิทธิภาพ กระทั่งต่อมาเมืองพัทยา ได้ประสานไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อขอเช่าพื้นที่ถนนเลียบทางรถไฟทั้งฝั่งขาเข้าและขาออกตลอดแนวความยาวกว่า 19 กม.อัตราค่าเช่าปีละ 2-3ล้านบาท จากนั้นจึงได้ลงมือปรับผิวจราจร เพื่อให้เป็นเส้นทางเดินรถเพิ่มเติมหลีกหนีจากการในเส้นทางในเมืองพทยาเพื่อแก้ไขปัญหารถติด โดยพบว่าช่วงแรกทำให้การจราจรดีขึ้นเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แบบจึงมีการตั้งงบประมาณในการตั้งงบประ มาณในการติดตั้งไฟสัญญาณจราจรทุกทางแยกตลอดแนวถนนในงบประมาณหลายสิบล้านบาท แต่ปรากฏว่าสุดท้ายก็ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากการปล่อยสัญญาณไฟสอดคล้องกับทางแยกและปริมาณรถที่มีอย่างหนาแน่นในชั่วโมงเร่งด่วน จึงจำเป็นต้องเลิกไปปล่อยทิ้งโครงการไว้บางส่วน ขณะที่บางส่วนขนย้ายสัญญาณไฟไปติดตั้งยังพื้นที่ที่จำเป็นในจุดอื่นแทน
กระทั่งต่อมาเมืองพัทยา ได้กำหนดแผนในการแก้ไขกรณีการใช้ถนนเลียบทางรถไฟ หรือ Local Road ที่มีปัญหาการจราจรติดขัดเป็นระยะ หลังทำการเปิดใช้ถนนเส้นดังกล่าวอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา โดยมีการส่งทีมวิศกรลงพื้นที่สำรวจและรวบรวมข้อมูลสถิติและปริมาณการใช้ถนน ตามซอกซอยต่างๆ บริเวณถนนเส้นดังกล่าว เพื่อรวบรวมทั้งหมดเป็นข้อมูลในการหาแนวทางแก้ไขและปรับแต่งระบบเวลาของสัญญาณไฟจราจรให้มีความสัมพันธ์กัน เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดและอุบัติเหตุ แต่ปรากฏว่าในช่วง 2 สัปดาห์แรกของการเปิดใช้ ความสัมพันธ์ของระบบเวลาและปริมาณการใช้ถนนของประชาชนเกิดความไม่ลงตัว จึงทำให้การจราจรติดขัดส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมาอย่างยาวนาน
สุดท้ายจึงต้องขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองพัทยา สภ.บางละมุง, สภ.หนองปรือ สภ.ห้วยใหญ่ รวมทั้งเจ้าหน้าที่เทศกิจ และกิจการพิเศษ อีกทั้งกลุ่มบรรดาอาสาสมัครจากหน่วยงานต่างๆให้ลงมาอำนวยความสะดวกและกวดขันวินัยจราจรในชั่วโมงเร่งด่วน โดยเฉพาะยานพาหนะที่ผ่านเข้า-ออกตามซอยที่สำคัญอย่าง ซอยพรประภานิมิตร (ซอยสนามกอล์ฟคันทรี่คลับ), ซอยเนินพลับหวาน, ซอยเขาน้อย (ซอยวัดบุญสัมพันธ์) และซอยเขาตาโล เพื่อควบคุมระบบเวลาอย่างเหมาะสม
จวบจนถึงปัจจุบันจากสภาพการจราจรที่หนาแน่นขึ้น รวมไปถึงสภาพผิวจราจรที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้กลับมามีสภาพความบูรณ์เหมือนในอดีต ปัญหาเหล่านี้ยังคงถูกปล่อยละเลยไม่ได้รับความสนใจหรือหาแนวทางความร่วมมือในการแก้ไขอย่างริงจังสักเท่าใด ขณะประชาชนเองก็ต้องอาศัยระยะเวลาหรือช่วงจังหวะในการใช้รถใช้ถนนเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาติดขัด จนทำให้ขาดวินัยการจราจรและมักเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนบ่อยครั้ง ปัญหาเหล่านี้แม้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวโดยตรง เนื่องจากถนนเส้นนี้ส่วนใหญ่เป็นการใช้ของประชาชนและแรงงานในพื้นที่ ตาหากยังไม่ได้รับความใส่ใจเหลียวแลหรือลงมาสำรวจแก้ไขอย่างจริงจัง บุคลากรที่ใช้เส้นทางเหล่านี้ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นทรัพยากรสำคัญทางด้านการท่องเที่ยวก็อาจเป็นส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบ ขณะที่ในการอนาคตจะมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าสู่เมืองพัทยา ที่มีการตั้งเป้าหมายให้เป็นศูนย์กลางทางการท่องเที่ยวของ EEC ถึงเวลานั้นการแก้ไขอาจจะช้าเกินไปจนถูกสังคมมองว่า “ไร้วิสัยทัศน์”
About The Author
Views: 1